tag:
top of page
  • Writer's pictureDr. Big Ditchaphong

เทคนิคการคิดเชิงกลยุทธ์ จากหนังสือ How to be Strategic


การคิดเชิงกลยุทธ์ นับเป็นเรื่องที่สำคัญในการแก้ไขปัญหาในองค์กร


เราจะเดินหน้าธุรกิจของเราอย่างไรดีนะ? จะออก product ใหม่ จะทำ promotion หรือจะแก้ปัญหาเยอะแยะมากมายอย่างไรดี


หนังสือเล่มนี้ มีเทคนิคง่ายๆ ที่คุณสามารถนำไปทดลองใช้ได้


หนังสือเล่มนี้แบ่งการแก้ปัญหาได้เป็น 4 แบบด้วยกัน คือ

  1. Staircase: หรือการแก้ปัญหาแบบขั้นบันได โดยมีผู้เชี่ยวชาญมาช่วยคิด และให้คำแนะนำ ค่อยๆ เดินไปข้างหน้าเรื่อยๆ อย่างมั่นคง แต่ วิธีนี้จะใช้ไม่ได้ หากปัญหานั้นเป็นเรื่องใหม่ และไม่มีผู้เชี่ยวชาญ ที่สามารถช่วยหาคำตอบได้

  2. Submarine: หรือแบบเรือดำน้ำ เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูล ทำการศึกษา (เหมือนเรือดำน้ำแอบซุ่มทำงาน) แล้วพอได้ข้อมูลเพียงพอและวิธีการที่เหมาะสม ก็จะวิเคราะห์หาคำตอบของปัญหาได้ ส่วนมากวิธีนี้จะพบในงานวิจัย แต่วิธีนี้จะมีปัญหา หากสภาพแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงไป ข้อมูลหรือการศึกษาที่อุตส่าห์ซุ่มทำมา ก็จะใช้ไม่ได้

  3. Helicopter: หรือแบบเฮลิคอปเตอร์ เป็นการแก้ปัญหาโดยการคิดวิธีการหลายๆ อย่างออกมา (เหมือนบินขึ้นไปดูคำตอบเลย) แล้วเลือกสิ่งที่คิดว่าเหมาะสมที่สุดเพื่อดำเนินการต่อ วิธีนี้มักจะพบในการระดมสมองเพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ แต่ปัญหาของวิธีนี้คือ หากเลือกวิธีที่ผิด ก็จะทำให้เดินไปผิดทางทันที

  4. Rollercoaster: หรือแบบรถไฟเหาะ ซึ่งเป็นการรวมจุดแข็งของ Submarine และ Helicopter เข้าด้วยกัน ทำให้เราสามารถคิด "ตัวเลือก" ที่หลากหลายได้ในเวลาสั้นๆ (เหมือน Helicopter) และใช้ data และวิธีการเชิงวิทยาศาสตร์ เพื่อเลือกทางเลือกที่น่าจะเหมาะสมที่สุด (เหมือน Submarine)


ลำดับแรก เราต้องสร้าง idea ใหม่ๆ ได้อย่างรวดเร็ว โดยหนังสือเล่มนี้ ได้แนะนำเทคนิคหลายอย่าง เช่น

  • Pyramid Principle: เป็นการตั้งเป้าหมาย แล้วแตกสิ่งที่ต้องทำเพื่อให้ได้เป้าหมายนั้น (คล้ายๆ หลักการของ OKRs)

  • Happy Line: เปรียบเทียบความต้องการข้อง user กับสิ่งที่เราทำได้ ทำให้พบว่าจุดใดที่ user ต้องการ และเรายังทำได้ไม่ดี เพื่อหา solution ในการปิดช่องว่างดังกล่าว

  • Mutation game: สร้างตัวเลือกจากสิ่งเดิมที่มีอยู่ เช่น จากเดิมเราเรียนหนังสือกับเพื่อนๆ ในห้องเรียน จะเป็นไปได้ไหมถ้า เราจะเรียนหนังสือกับคนแปลกหน้าทาง online หรือ เรียนหนังสือคนเดียวกับ AI เป็นต้น สิ่งไอเดียเหล่านี้ ก็จะนำไปสู่ solution ต่อไป


ถัดมา คือการเลือกสิ่งที่คิดว่าน่าจะเหมาะสมที่สุด จากไอเดียที่เรา list มา โดยมีหลายวิธี

  • Qualitative หรือเชิงคุณภาพ เป็นการ Brainstorm เพื่อช่วยกันเลือก โดยอาจคำนึงถึงความเสี่ยง (พลาดได้ ถ้าพลาดแล้วก็ไม่ได้ส่งผลมหาศาลต่อบริษัท) และบทบาทในตลาด (เป็นไอเดียที่ทำให้เราเป็นผู้นำตลาด หรือแค่ทำให้อยู่รอด)

  • Quantitative หรือเชิงปริมาณ เป็นการใช้ข้อมูลเชิงตัวเลข เช่น ขนาดของตลาด คู่แข่ง ฯลฯ มาใช้ในการวิเคราะห์

  • Real-life test คือการทดลองจริง หลักการนี้คล้ายๆ กับ Agile หรือ Lean startup ที่สร้าง product ขั้นต้นแบบง่ายๆ (ที่เรียกว่า MVP (Minimum viable product) แล้วให้ user ใช้งานเพื่อรับ feedback


สุดท้ายแล้ว การคิดไอเดียหรือ solution ใหม่ๆ ออกมาได้ ยังต้องผ่านการ approve จากผู้ที่เกี่ยวข้อง และผู้บริหาร เราอาจใช้เทคนิค เช่น การใช้คำพูด การใช้ข้อมูลตัวเลขสนับสนุน และการเล่าเรื่อง หรือ story เพื่อโน้มน้าวใจ


หวังว่าเทคนิคเหล่านี้ จะช่วยให้ทุกคน ได้แนวทางในการคิดในเชิงกลยุทธ์ นะครับ


6 views0 comments
bottom of page